หลายคนที่บริโภคหรือใช้กัญชาอาจจะยังไม่รู้จักว่าไตรโคมในกัญชานั้นคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับไตรโคมให้มากขึ้น ทั้งวิธีการใช้หรือการนำมาบริโภค รวมถึงมีข้อควรระวังในการบริโภคอย่างไรบ้าง ต้องมาติดตามกันได้ในบทความนี้
ไตรโคมคือ ขนสีขาวที่ติดอยู่บริเวณรอบใบ รวมถึงปกคลุมด้วยความหนาแน่นบริเวณช่อดอกของต้นกัญชา สามารถพบได้ในกัญชาและพืชอื่นๆ ซึ่งไตรโคมจะขึ้นในช่วงออกดอก ยิ่งมีไตรโคมมาก สารที่ได้ก็จะยิ่งเยอะ และยังมีผลต่อเรื่องกลิ่น รสชาติ อีกทั้งไตรโคมยังมีแบบขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หากไตรโคมเป็นต่อมมาเรซินขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายเห็ด ก็ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการส่องขยายเพื่อดูลักษณะของไตรโคมได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
โดยไตรโคมในต้นกัญชา ทำหน้าที่หลายอย่างและมีประโยชน์ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าไตรโคมนั้นเป็นองค์ประกอบหลักในตัวกัญชาที่มีความสำคัญในการเจริญเติบโต และป้องกันสิ่งต่างๆที่เข้ามารบกวน หากไม่มีไตรโคมก็ย่อมส่งผลเสียต่อต้นกัญชาได้
รูปทรงของไตรโคมแบ่งออกเป็น 3 รูปทรง โดยรูปทรงของไตรโคมที่พบได้ทั่วไปในกัญชา มีดังนี้
เป็นไตรโคมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เมื่อเทียบกับไตรโคมอีกสองชนิด มีปริมาณของสารแคนนาบินอยด์รวมทั้งเทอร์พีนมากกว่าอีกด้วย โดยเป็นไตรโคมที่มีทั้งหัวและก้าน จึงทำให้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งมีขนาดประมาณ 50-100 ไมโครเมตร อยู่บนดอกใบของพืช รวมทั้งไม่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการดูรายละเอียด
เป็นไตรโคมที่มีขนาดกลาง ที่แม้จะเป็นไตรโคมที่มีทั้งหัวและฐาน แต่มองเห็นได้ยากด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาด 20-40 ไมโครเมตร จึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อดูไตรโคมชนิดนี้ อีกทั้งมีสารแคนนาบินอยด์มากกว่าไตรโคม Bulbous Trichome นั่นเอง
เป็นไตรโคมที่ถึงแม้จะมีขนาดเล็กที่สุด แต่มีปริมาณเยอะกว่าไตรโคมอีกสองชนิด กระจายอยู่ทั่วต้นกัญชาโดยไตรโคม Bulbous Trichome เป็นไตรโคม ที่มีแค่หัว ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้กล้องไมโครสโคปในการส่อง เนื่องจากมีขนาดแค่ 10-15 ไมโครเมตร รวมทั้งในไตรโคมยังมีสารแคนนาบินอยด์จำนวนน้อย เนื่องจากมีขนาดที่เล็กจิ๋วนั่นเอง
โดยไตรโคมทั้งสามชนิดนี้ เป็นไตรโคมหลักที่สามารถพบได้บ่อยในกัญชาและมีขนาดที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งสามไตรโคมมีเหมือนกันคือ ทำหน้าที่ปกป้องกัญชาจากแมลงหรือป้องกันสิ่งต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อกัญชา เพื่อให้กัญชาได้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ระยะการพัฒนาของไตรโคมในแต่ระยะจะมีการเปลี่ยนสี และไตรโคมแต่ละระยะจะส่งผลต่อการไฮที่ต่างกัน จึงควรทราบในส่วนนี้เอาไว้ ซึ่งไตรโคมแต่ละระยะมีดังนี้
ไตรโคมสีใส (Clear Trichomes) เป็นไตรโคมระยะแรกที่ยังไม่มีความเหมาะสมกับการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเป็นช่วงสัปดาห์แรกที่มีการสร้างแคนนาบินอยด์จากต้นกัญชา โดยไตรโคมสีในในระยะนี้จะมีการเริ่มสังเกตเห็นไตรโคมบนดอกและใบ สามารถบ่งบอกได้ว่าไตรโคมยังมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงยังไม่ควรเก็บกัญชาในช่วงระยะแรกนี้ เพราะว่ามีสาร THC น้อย หากเก็บในช่วงระยะแรกนี้ก็จะส่งผลให้เกิดเอฟเฟกต์ความไฮที่ไม่มากพอนั่นเอง
ไตรโคมสีขุ่นหรือไตรโคมสีน้ำนม (Milky trichomes) เป็นไตรโคมระยะที่สอง โดยเริ่มมีสีขาวที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากไตรโคมจะทำการปกคลุมไปทั่วทั้งดอกและทำการปกคลุมไปด้วยตุ่มใสๆ ภายใน จึงทำให้ดอกมีสีขาวจากสารแคนนาบินอยด์และเทอร์พีน ซึ่งไตรโคมสีขุ่นเป็นระยะเหมาะสมที่ควรเก็บเกี่ยวและเป็นระยะในช่วงที่มีสาร THC มากที่สุด บ่งบอกว่ามีการเจริญเติบโตเต็มที่ รวมทั้งมีศักยภาพสูงสุดอีกด้วย
ไตรโคมสีเหลืองอำพัน (Amber trichomes) เป็นไตรโคมระยะที่สาม ซึ่งจะมีสาร THC เริ่มลดลงหรือเสื่อมสภาพ เนื่องจากระยะนี้จะมีการสุกงอมอย่างเต็มที่จากแคนนาบินอยด์ ส่งผลให้สาร THC เริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ บ่งบอกว่าไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงระยะนี้
ไตรโคมสีผสม (Mixed trichomes)
เป็นไตรโคมที่อยู่ในระยะการผสมกันทั้งสามระยะหรือสองระยะก็ได้ โดยมีการผสมกันของไตรโคมสีใส สีขุ่น และสีเหลืองอำพัน ทำให้มีปริมาณสาร THC ไม่มากและไม่น้อยมากเกินจนไป จึงมีความเหมาะสมพอประมาณในการเก็บเกี่ยว และเหมาะสำหรับผู้เพาะปลูกที่มีความต้องการจะเก็บเกี่ยวในระยะนี้
หากเรารู้ถึงระยะการเจริญเติบโตของไตรโคมหรือรู้ถึงช่วงการเก็บเกี่ยว ก็ย่อมส่งผลให้ได้ไตรโคมที่มีคุณภาพ
ไตรโคมนั้นเป็นองค์ประกอบหลักที่มีอยู่ในตัวกัญชาและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยตัวกัญชาเองจะมีสารแคนนาบินอยด์ที่ได้มาจากเผาผลาญ ซึ่งขั้นตอนการสังเคราะห์สารแคนนาบินอยด์ในไตรโคมคือ เกิดจากการที่กัญชาเริ่มเข้าสู่ระยะทำดอกหรือเริ่มออกดอก ก็จะมีการสังเคราะห์สารแคนนาบินอยด์ขึ้นมา โดยไตรโคมจะทำการก่อตัวบนพื้นผิวด้านนอกของพืช จากนั้นจึงค่อยมีการขนส่งพลาสมิดและแวคิวโอล เริ่มจากส่วนก้านไปยังบริเวณส่วนหัว แล้วต่อมาจึงได้มีการเผาผลาญจนกลายเป็นสารแคนนาบินอยด์ หากต้องการสร้างสารแคนนาบินอยด์ให้มีความเข้มข้นสูงกว่าเดิม ก็จะต้องขึ้นอยู่กับตัวแปรที่มาจากแสง UV ถ้าพืชได้รับแสงมากกว่า ก็จะช่วยเร่งให้กัญชาทำการสร้างสารแคนนาบินอยด์มาปกป้องตัวเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้วงจรชีวิตการสังเคราะห์สารแคนนาบินอยด์ในไตรโคมจะมีอยู่ด้วย 3 ระดับ คือไตรโคมสีใส ไตรโคมสีขุ่น และไตรโคมสีเหลืองอำพัน
ในปัจจุบันได้มีการนำไตรโคมไปใช้ทั้งในทางการแพทย์และนำมาบริโภค โดยจะมีการนำส่วนของโตรโคมที่มีอยู่ในบริเวณบนช่อดอกของกัญชามาสกัดเป็นยา เนื่องจากมีสารสำคัญที่สามารถนำมาสกัดได้ปริมาณมากกว่าส่วนอื่นๆ
การนำไตรโคมจากกัญชามาใช้ในทางการแพทย์มีคุณประโยชน์ดังนี้
ซึ่งการนำไตรโคมมาใช้ถูกวิธีก็ย่อมส่งผลดีที่ตามมาหลายอย่าง
ในการบริโภคหรือนำไตรโคมไปใช้ จำเป็นต้องนึกถึงข้อควรระวังในการใช้ เพื่อไม่ให้ส่งผลที่ตามมาในภายหลัง เนื่องจากไตรโคมที่อยู่ในกัญชา อาจจะมีการปนเปื้อนเกิดขึ้น จากการที่พืชดูดซับโลหะหนักด้วยการปลูกในดินนั่นเอง และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากผู้บริโภคได้รับสารปนเปื้อนเป็นโลหะหนัก ซึ่งสิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการใช้หรือบริโภคไตรโคมในปริมาณที่เหมาะสมพอดี
โดยข้อห้ามสำหรับในทางการแพทย์และข้อควรระวังในการใช้หรือบริโภคไตรโคมที่ได้จากสารสกัดกัญชา มีดังต่อไปนี้
ดังนั้นการรู้ถึงข้อควรระวังดังกล่าว ก็เพื่อความปลอดภัยและเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ก็ไม่ควรใช้หรือบริโภคไตรโคมมากเกินไปด้วยเช่นกัน
ไตรโคมคือ ขนสีขาวที่ติดอยู่บริเวณรอบใบ ซึ่งสามารถพบได้ในกัญชาและพืชอื่นๆ โดยไตรโคมจะขึ้นในช่วงออกดอก ยิ่งมีไตรโคมมาก สารที่ได้ก็จะยิ่งเยอะ อีกทั้งไตรโคมมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยปัจจุบันมีการนำไตรโคมไปใช้ในทางการแพทย์หรือนำมาบริโภค เช่น ใช้รักษาโรคเครียด รักษาริดสีดวง รักษาโรคเลือด หรือช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ผื่นคัน เป็นต้น
ซึ่งข้อควรระวังในการใช้หรือบริโภคไตรโคม เช่น ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด หรือผู้ป่วยที่ติดโรคสุรานั่นเอง
สำหรับใครที่ต้องการมองไตรโคมที่ดีมีคุณภาพหรือสนใจในการหาไตรโคมมาใช้ รวมถึงบริโภค ก็สามารถมาเลือกซื้อได้ที่ FourTwenty ได้เลย