ใครห้ามใช้กัญชาบ้าง

เช็กให้ชัวร์! ใครห้ามใช้กัญชาบ้าง และมีข้อควรระวังการใช้กัญชาอย่างไร

August 21, 2023

ใครห้ามใช้กัญชาบ้าง? คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย หลังจากประเทศไทยปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด และเปิดให้ประชาชนทุกคนนำไปใช้รักษาโรค ทำอาหาร หรือแม้แต่นำไปใช้เพื่อความบันเทิง จึงเกิดเป็นข้อถกเถียงครั้งใหญ่ว่าการปลดล็อกกัญชาครั้งนี้ถือเป็นเรื่องดี และมีประโยชน์ต่อทุกคนจริงหรือไม่

แน่นอนว่า กัญชาเป็นพืชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม กัญชาอาจมีข้อควรระวัง หรือข้อห้ามสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงบางกลุ่ม เพราะหากไม่ปฏิบัติตามข้อควรระวัง แทนที่จะได้ประโยชน์ก็อาจเกิดโทษมหาศาลได้ เพื่อให้ทุกคนรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องโดยทั่วกัน วันนี้เราเลยรวบรวมข้อมูลการใช้พืชกัญชามาฝากทุกคน ใครห้ามใช้กัญชาบ้าง และข้อควรระวังการใช้กัญชาคืออะไร เราได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว!

“กัญชา” พืชมากคุณประโยชน์

“กัญชา” พืชมากคุณประโยชน์

กัญชา จัดเป็นพืชล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. ที่อยู่ในวงศ์ Cannabaceae ลักษณะโดยทั่วไป คือ มีขนาดลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ใบมีลักษณะเป็นแฉกลึก ดอกมีสีเขียว ในส่วนของใบ และช่อดอกเพศเมียที่แห้งจะถูกเรียกว่า “กะหรี่กัญชา” โดยทั่วไปในทางการแพทย์ หรือการใช้กัญชาอย่างถูกต้องมักนิยมใช้ช่อดอก โดยเมื่อกัญชาออกดอกเติบโตเต็มที่จะมีไตรโคม (Trichomes) ที่กักเก็บสารสำคัญของกัญชา ประกอบไปด้วย THC, CBD และสารอื่นๆ อีกกว่า 400 ชนิด

สรรพคุณโดยทั่วไปของกัญชา คือ การทำให้มึนเมา เกิดภาวะผ่อนคลาย และอยากอาหารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กัญชาก็มีผลข้างเคียงอยู่เช่นกัน เช่น ทำให้การคิดการตัดสินใจช้าลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพของความจำระยะสั้น ทำให้ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง ไปจนถึงการทำให้รู้สึกหวาดระแวง หรือวิตกกังวล ไปจนถึงเกิดความเครียดได้ หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

ความสำคัญของการใช้กัญชา

ความสำคัญของการใช้กัญชา

กัญชาเคยถูกจัดเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติกัญชา พ.ศ. 2477 ส่งผลให้มีการห้ามการปลูก ซื้อ ขาย จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองโดยเด็ดขาด ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ และมีการออกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เพื่ออนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาโรคในผู้ป่วย และการวิจัยเพื่อการพัฒนา

อย่างไรก็ตาม หลังจากการออกกฎระเบียบการใช้กัญชาใหม่ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 พืชกัญชา และกัญชงก็ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่มีการเข้ามาควบคุมการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุของผู้ครอบครอง การซื้อขาย หรือแม้แต่วัตถุประสงค์การใช้งาน ทำให้ตอนนี้กัญชาถูกใช้อย่างแพร่หลาย และถูกนำมาใส่ในผลิตภัณฑ์ อาหาร หรือขนมต่างๆ เพื่อการทำธุรกิจไปพร้อมกันอีกด้วย

การใช้กัญชาทางการแพทย์

การใช้กัญชาอย่างปลอดภัยในทางการแพทย์ มักมีการสกัดสารภายในกัยชา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามปริมาณที่เหมาะสม โดยภายในกัญชามีสารอย่างน้อย 60 ชนิด โดยสารสำคัญ คือ Cannabinoids ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดการเสพติดของระบบประสาท ในขณะเดียวกันก็มีสาร Cannabidiol (CBD) ซึ่งเป็นสารที่ไม่ทำให้เสพติด ซึ่งมีสรรพคุณช่วยต่อต้านการอักเสบ และปกป้องการเสื่อมของเซลล์ประสาท นอกจากนี้ สาร CBD ยังมีงานวิจัยรองรับว่าช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย

การใช้กัญชาทางการแพทย์มีหลายรูปแบบ เช่น การสูบ การใช้วิธีหยอดใต้ลิ้น การใช้ทาเพื่อรักษาอาการทางผิวหนัง การใช้รักษาโรคริดสีดวง หรือแม้แต่เหน็บทางทวารหนัก สำหรับโรคที่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กัญชารักษาได้ และมีงานวิจัยรองรับ ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง (Central Neuropathic Pain) ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น

การใช้กัญชาเพื่อความผ่อนคลาย

นอกจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์แล้ว ปัจจุบันกัญชายังมีการใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหาร และนำมาใช้เพื่อการผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร ลดความวิตกกังวล และอาการตื่นกลัว โดยการใช้กัญชาอย่างปลอดภัย ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ใครห้ามใช้กัญชาบ้าง

เช็กให้ชัวร์! ใครห้ามใช้กัญชาบ้าง

แม้ว่าประเทศไทยได้ออกกฎหมายใหม่ โดยให้ใช้กัญชาได้อย่างเสรี และไม่มีข้อห้าม หรือควบคุมปริมาณการใช้กัญชา แต่การใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ อย่างไม่ระวัง หรือขาดการแนะนำ ผลกระทบของกัญชาอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาต้องเช็กให้ชัวร์ก่อนว่าใครห้ามใช้กัญชาบ้าง หรือกลุ่มคนกลุ่มไหนที่ต้องระวังการใช้กัญชามากเป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่รู้ว่าต้องไปเช็กได้ที่ไหน เราได้รวบรวมมาให้แล้ว!

ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

สำหรับกลุ่มแรกที่ไม่ควรใช้กัญชา คือ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าผู้เยาว์ เนื่องจากผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ยังเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในด้านร่างกาย ด้านวุฒิภาวะ และการตัดสินใจ อีกทั้งภายในตัวกัญชา ยังมีสาร THC ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ส่งผลต่อสมองของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ในระยะยาว ทำให้การใช้กัญชากับเด็ก อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต เช่น พัฒนาการล่าช้า หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิต ดังนั้น เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จึงเป็นกลุ่มที่ไม่ควรใช้กัญชา

ผู้หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร

สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร กัญชาถือเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างมาก เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลของกัญชาทางการแพทย์ในต่างประเทศหลายชิ้นระบุว่า การใช้กัญชาในผู้หญิงตั้งครรภ์ มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในระยะสั้น และระยะยาว อีกทั้งยังเพิ่มอัตราความเสี่ยงของเด็กทารกแรกเกิด เช่น เด็กเสียชีวิตในครรภ์ เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย การคลอดก่อนกำหนด หรือคลอดออกมาแล้วไม่มีสัญญาณชีวิต

นอกจากนี้ เด็กที่เกิดจากแม่ที่ใช้กัญชาขณะตั้งครรภ์ยังเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ทางกรมการแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประกาศข้อห้ามใช้กัญชากับกลุ่มสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยงทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้

กลุ่มผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังการใช้กัญชาสำหรับผู้สูงอายุ คือ การใช้กัญชาอาจเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น การเคลื่อนที่ การเดิน การทรงตัว ไปจนถึงความเสี่ยงต่อการหกล้ม อีกทั้งผู้สูงอายุบางคนอาจมีความเสี่ยงในเรื่องความจำที่ไม่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว การใช้กัญชาจึงอาจส่งผลให้การบริหารความจำระยะสั้นแย่ลงไปอีก นอกจากนี้ การใช้กัญชายังทำให้การตอบสนองทางอารมณ์ของผู้สูงอายุผิดเพี้ยน ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ ส่งผลต่ออารมณ์ที่รุนแรง หรือซึมเศร้าแบบไม่ปกติ รวมถึงความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ควรใช้กัญชาโดยไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์โดยเด็ดขาด

โรค หรือกลุ่มอาการใดบ้างที่ไม่ควรใช้กัญชา

โรค หรือกลุ่มอาการใดบ้างที่ไม่ควรใช้กัญชา

นอกจากกลุ่มเสี่ยงข้างต้นที่ไม่ควรใช้กัญชาแล้ว ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ อีกหลายกลุ่มที่ต้องระมัดระวังการใช้กัญชาเช่นกัน โดยโรคหรือกลุ่มอาการที่ไม่ควรใช้กัญชามีดังนี้

กลุ่มผู้ป่วยทางจิต

ความเครียดในปัจจุบัน ส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคทางจิตเวชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปอาการทางจิตเวชก็มีอยู่หลายประเภท เช่น โรคแพนิก โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท รวมไปถึงโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ และภาวะทางอารมณ์ที่แปรปรวน

เหตุผลที่ไม่ควรนำกัญชามาใช้ในผู้ป่วยทางจิต คือ กัญชามีสารที่ส่งผลต่อกระบวนการทำงานของสมอง จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวช หรือทำให้อาการที่เป็นอยู่แล้วหนักขึ้นได้ เช่น กระตุ้นให้เกิดภาวะการตัดสินใจถดถอยจนเกิดอาการหลงผิด ทำให้เกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล จนอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายได้

กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด คือ กลุ่มโรคที่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ และส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติ อีกทั้งยังทำให้ปริมาณที่เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติอีกด้วย ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด อาจเสี่ยงเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสม และเกิดการอุดตันของเส้นเลือด

ข้อควรระวังการใช้กัญชาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือก คือ หากใช้กัญชาในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากสารในกัญชาไปกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดหัวใจหดตัวรุนแรง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ดังนั้น ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการใช้กัญชาทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัย

กลุ่มโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์

กลุ่มโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ คือ อาการสูญเสียความทรงจำ โดยอาจมีสัญญาณจากการลืมเรื่องราว เหตุการณ์ บทสนทนา หรือกิจวัตรประจำวัน ซึ่งอาจเกิดผลกระทบรุนแรงจนนำไปสู่เรื่องการคิด การตัดสินใจ การวางแผน หรือแม้แต่การช่วยเหลือตนเอง

แม้จะมีการกล่าวว่า สารสกัดจากพืชกัญชาใช้รักษาโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ แต่ความจริงแล้ว ยังไม่มีงานวิจัย หรือหลักฐานใดๆ ที่สามารถยืนยันได้ ดังนั้น หากต้องการชะลอโรคสมองเสื่อม หรือรักษาความผิดปกติด้านการรู้สึกนึกคิด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน ไม่ควรนำกัญชามารักษาด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารที่ชื่อว่า โดพามีน (Dopamine) ลดลง จนเกิดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมือสั่น เคลื่อนไหวช้าลง โดยกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

สำหรับการรักษา ข้อมูลในปัจจุบันระบุว่า กัญชายังไม่สามารถใช้รักษาอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการหลักของโรคพาร์กินสันได้ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีศึกษาได้กล่าวไว้ว่า สารสกัดจากกัญชาอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ในบางส่วน แต่เป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น อาการปวด อาการผิดปกติของการนอนหลับ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย และไม่ให้ร่างกายของผู้ป่วยได้รับผลกระทบของกัญชา ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้กัญชาเพื่อความปลอดภัย

โรคปวดศีรษะปฐมภูมิ

โรคปวดศีรษะปฐมภูมิ หรือปวดศีรษะไมเกรน (Migraine Headache) เป็นอาการการปวดศีรษะที่มีลักษณะการปวดแบบเป็นจังหวะ มักเกิดข้างเดียวของศีรษะ หรืออาจเกิดทั้งสองข้างก็ได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนแรง โดยโรคนี้อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรืออาจเกิดจากการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม เช่น แสง เสียง อากาศ เป็นต้น

สำหรับการใช้กัญชาเพื่อการรักษาอาการปวดศีรษะ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ขอไม่แนะนำ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่บ่งชี้ได้ว่ากัญชามีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดความถี่ของการเกิดไมเกรน หรือลดอาการปวดศีรษะปฐมภูมิได้จริง ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคนี้จึงไม่ควรเสี่ยงใช้กัญชา หรือนำกัญชามารักษา เพราะผลกระทบของกัญชาอาจทำให้อาการปวดศีรษะรุนแรงมากขึ้นได้

กลุ่มอาการผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย

อาการผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย คือ อาการที่เรียกง่ายๆ ว่าปลายประสาทอักเสบ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการชา เหน็บ หรือรู้สึกเสียวที่เท้า หรือมือ ซึ่งสามารถลุกลามไปถึงขา และแขนได้ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักรู้สึกคล้ายถูกของมีคมทิ่มแทง หรือปวดแสบปวดร้อน รวมถึงมีอาการไวต่อการสัมผัส เป็นต้น

ด้วยความที่โรคนี้ค่อนข้างร้ายแรง และเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทโดยตรง ดังนั้น จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรใช้กัญชาเด็ดขาด เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงให้ว่าการใช้สารสกัดจากกัญชา ดีกว่าการรักษาตามมาตรฐานปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แนะนำให้ใช้กัญชาในการรักษา ยกเว้นในกรณีที่รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แล้วไม่ได้ผล หรือเกิดผลข้างเคียง เมื่อถึงเวลานั้น อาจพิจารณาการใช้สารสกัดจากกัญชาได้ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

โรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ คือ ปัญหาที่ดูเหมือนเป็นเรื่องไม่ร้ายแรง แต่แท้จริงแล้วเกิดขึ้นได้กับผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย โดยจากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 30-35 ของผู้ป่วยโรคนี้ มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการป่วยทางร่างกาย หรือจิตใจ ผู้ที่มีความกังวล หรือแม้แต่ผู้ที่มีอาการป่วยซึมเศร้า โดยผลกระทบของโรคนอนไม่หลับ คือ ผู้ป่วยมักมีอาการร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เกิดอาการวิตกกังวล จนท้ายที่สุดแล้วมีผลต่อการคิดการตัดสินใจ และการทำงานในช่วงเวลากลางวัน

สำหรับการใช้กัญชาของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ถือว่ามีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เนื่องจากยังไม่มีการรับรองว่าสามารถใช้กัญชาในการรักษาปัญหานอนไม่หลับได้ และยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ สารสกัดในกัญชายังออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง ดังนั้น การใช้กัญชาอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยง และส่งผลกระทบต่อปัญหาการนอนหลับที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีก ผู้ป่วยจึงต้องระมัดระวัง และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

กลุ่มโรคลมชักชนิดอื่นๆ

โรคลมชัก คือ กลุ่มอาการชัก เนื่องมาจากการที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือสมองทั้งหมดทำงานมากเกินปกติไปจากเดิมชั่วขณะ หรืออาจเกิดจากเซลล์ในสมองเกิดความผิดปกติ ไฟฟ้าในสมองเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ส่งผลให้เกิดอาการชักขึ้นมา หากอาการชักเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งโดยไม่มีเหตุกระตุ้น อาจกล่าวได้ว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นโรคลมชัก สำหรับสาเหตุของโรคลมชัก ส่วนหนึ่งอาจมาจากกรรมพันธุ์ อีกทั้งการรักษายังไม่มีข้อมูลหลักฐานมากพอว่าการใช้กัญชาจะช่วยรักษาโรคได้จริง ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเพิ่มระดับความรุนแรงของโรค จึงไม่ควรใช้กัญชาเพื่อการรักษา หรือแม้แต่เพื่อความบันเทิงในผู้ป่วยลมชักเด็ดขาด

เราจะเห็นได้ว่า กัญชา มีประโยชน์ทางการแพทย์ในด้านต่างๆ ก็จริง แต่ในปัจจุบันยังมีข้อห้าม หรือข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชาอยู่ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสตรีมีครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้ป่วยโรคต่างๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้น จะดีกว่าไหม หากได้กัญชาพรีเมียมที่รับประกันว่าปลอดภัย และมีคุณภาพสูง หากคุณต้องการกัญชาคุณภาพดี พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา และแนะนำปริมาณที่เหมาะสม สามารถปรึกษา fourtwenty ได้เลย เราพร้อมให้คำแนะนำที่ถูกต้อง และปลอดภัยกับคุณมากที่สุด ถ้าพร้อมแล้วก็สามารถติดต่อเราได้เลยตอนนี้!

Designed by CARE Digital
Copyright 2025 © Fourtwenty - All rights reserved.
crossmenu