กัญชา กัญชง ต่างกันอย่างไร

กัญชา กัญชงต่างกันอย่างไร พืชเศรษฐกิจที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

August 31, 2023

เมื่อพูดถึงกัญชาและกัญชง หากดูภายนอกก็จะพบว่าลักษณะต้นกัญชาและกัญชงก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก แม้เป็นพืชตระกูลเดียวกันแต่ก็มีลักษณะทางกายภาพ ประโยชน์ และการออกฤทธิ์ที่ไม่เหมือนกัน four twenty จะพาไปดูว่ากัญชา กัญชงต่างกันอย่างไรกันแบบละเอียดๆ พร้อมแล้วก็ไปกันเลย

ลักษณะของต้นกัญชา

ลักษณะทางกายภาพของต้นกัญชาเป็นอย่างไร

  • ชื่อเล่น : กัญชา หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Marijuana
  • ชื่อวิทยาศาตร์ : Cannabis sativa L.subsp. Indica
  • สีของใบ : มีใบสีเขียวเข้มจัด
  • ลักษณะใบ : ใบมีความกว้าง ดูหนา โดยจะแตกออกเป็นประมาณ 5-7 แฉก ใบแต่ละแฉกเรียงตัวชิดใกล้กัน และบริเวณขอบใบจะเป็นหยักฟันเลื่อย ความกว้างของใบประมาณ 0.3-1.5 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร 
  • ลำต้น : ลักษณะต้นกัญชา มีลำต้นเตี้ยตั้งตรงเป็นพุ่ม สูงประมาณ 1-3 เมตร โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียวแต่เมื่อแห้งจะกลายเป็นสีน้ำตาล
  • กิ่งก้าน : มีการแตกกิ่งก้านมาก
  • เส้นใย : มีความยาว เหนียว ลักษณะค่อนข้างหยาบ และเส้นใยมีคุณภาพต่ำกว่ากัญชง
  • เมล็ด : เมล็ดมีขนาดเล็ก ลักษณะกลม รูปไข่ป้อม ผิวเรียบเป็นมันวาว ขนาดประมาณ 3-4 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 8-24 กรัมต่อ 1000 เมล็ด
  • ปริมาณสาร THC (tetrahydrocannabinol) : ในกัญชาจะมี THC มากกว่า 1%
  • ปริมาณสาร CBD (Cannabidiol) : ในกัญชาจะมี CBD ไม่เกิน 2%
  • ประโยชน์ : นำมาสกัดเป็นยารักษาโรคและใช้ในทางการแพทย์
กัญชาใช้ทำอะไรได้บ้าง

กัญชาใช้ทำอะไรได้บ้าง?

กัญชาเป็นพืชที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่จะนำมาใช้ทางการแพทย์เป็นยารักษาอาการต่างๆ และมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ไปดูกันเลยว่าแต่ละส่วนของกัญชาใช้ทำอะไรได้บ้าง

  • ช่อดอก : ส่วนของดอกนำมาใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น อาการนอนไม่หลับ คิดมาก หรือนำมาปรุงอาหารให้ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร
  • เมล็ด : เมล็ดถูกนำมาใช้เป็นยาชูกำลังในตำรายาไทย และยังใช้เป็นยาแก้กระหายน้ำ ยาแก้บิด ยาแก้ท้องผูกในคนสูงอายุ ส่วนน้ำมันที่ได้จากเมล็ดมีการนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สีทาบ้าน และสบู่
  • ใบ : ส่วนของใบนำมาใช้เป็นยาแก้ไข้ผอมเหลือง แก้อาการตัวสั่น เสียงสั่น ไม่มีกำลัง อีกทั้งการนำใบกัญชาสดมาหั่นฝอยแล้วนำไปตากแห้ง จากนั้นนำมาสูบเป็นยารักษาโรคหอบหืด และช่วยขยายหลอดลม นอกจากนี้ใบกัญชาสามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
  • ลำต้น : ทั้งต้นสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ยาแก้กล้ามเนื้อกระตุก หรือใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน นอกจากใช้ในทางการแพทย์แล้ว เส้นใยของลำต้นมีการนำมาใช้ทอผ้าหรือกระสอบ ซึ่งผ้าที่ได้จะมีคุณภาพดี คงทน ยืดหยุ่น และน้ำหนักเบา จึงนิยมนำมาทำเป็นเสื้อเกราะ หรืออุปกรณ์ในรถยนต์
  • สารสกัด CBD และ THC ไม่เกิน 0.2 : สารสกัดกัญชาช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตอบสนองการบำบัดด้วยการฉายรังสีได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อนำมาใช้คู่กับการฉายแสงจึงทำให้สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้เพิ่มมากขึ้น และสารสกัดนี้สามารถรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบของสมองและไขสันหลังได้อีกด้วย
  • กิ่งก้าน : ยอดอ่อนสามารถนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท แก้โรคสมองพิการ เป็นยาระงับปวด ยาแก้อักเสบ ยาแก้โรคบิด ยาแก้ปวดท้อง และยาแก้ท้องร่วง
  • ราก : รากกัญชาถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้หลากหลาย และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ โดยสรรพคุณของรากกัญชา ได้แก่ ต้านการอักเสบ ลดไข้ ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ต้านอนุมูลอิสระ ต้านปรสิต ต้านเนื้องอก ต้านเบาหวาน ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยโรคหัวใจ และลดอาการข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
ประโยชน์ของกัญชา

ประโยชน์ของกัญชา

กัญชามีประโยชน์ด้วยกันหลักๆ ดังนี้

  • นำกัญชาไปผสมกับอาหาร เพื่อกระตุ้นให้เจริญอาหารมากขึ้น
  • ใช้เป็นยาลดความดันในนัยน์ตาของผู้ที่เป็นต้อหิน
  • สามารถป้องกันอาการซึมเศร้า ทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น ลดพฤติกรรมรุนแรง และปรับสมดุลต่างๆ ในร่างกาย
  • ช่วยลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อและอาการสั่น ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น
  • ออกฤทธิ์การรักษาได้นานกว่าการใช้ยาสเตียรอยด์หรือยาแก้อักเสบ
  • ยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษ จึงสามารถป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ได้
  • สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในสมอง ผิวหนัง และตับอ่อน
  • ลดโอกาสการเกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
  • กัญชาสามารถนำมาปลูกและทำกระดาษได้มากกว่าไม้ยืนต้นถึง 4 เท่า
  • เส้นใยมีคุณภาพสูง แข็งแรง และน้ำหนักเบา สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของวัสดุได้หลากหลาย
ลักษณะของต้นกัญชา

ลักษณะทางกายภาพของต้นกัญชงเป็นอย่างไร

  • ชื่อเล่น : กัญชง หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Hemp
  • ชื่อวิทยาศาตร์ : Cannabis sativa L.subsp. Sativa
  • สีของใบ : มีใบสีเขียวอ่อนกว่ากัญชา
  • ลักษณะใบ : ใบเรียวแหลม โดยจะแยกออกเป็นประมาณ 7-11 แฉก ใบแต่ละแฉกเรียงตัวอยู่ค่อนข้างห่างจากกัน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย และมีก้านใบยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร
  • ลำต้น : ลักษณะต้นกัญชง เป็นลำต้นสีเขียวสูงเรียวตั้งตรง ความสูงประมาณ 1-6 เมตร โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3 เมตร
  • กิ่งก้าน : มีการแตกกิ่งก้านน้อย
  • เส้นใย : ต้นกัญชงจะให้ปริมาณเส้นใยมากกว่ากัญชาและมีคุณภาพสูงกว่า โดยมีความแข็งแรงมากกว่าฝ้ายถึง 2 เท่า
  • เมล็ด : เมล็ดมีขนาดใหญ่ รูปไข่ ผิวเรียบเป็นมัน และอาจมีลายเล็กน้อย โดยลายเป็นลายประสีน้ำตาล โดยมีความกว้างเฉลี่ย 4.47 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 5.11 มิลลิเมตร และความหนาเฉลี่ย 3.75 มิลลิเมตร
  • ปริมาณสาร THC (tetrahydrocannabinol) : ในกัญชงจะมี THC ไม่เกิน 1%
  • ปริมาณสาร CBD (Cannabidiol) : ในกัญชงจะมี CBD มากกว่า 2%
  • ประโยชน์ : เนื่องจากให้เส้นใยปริมาณมากและมีคุณภาพ จึงนิยมนำมาใช้ในงานสิ่งทอ ทำกระดาษ หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง
กัญชงใช้ทำอะไรได้บ้าง

กัญชงใช้ทำอะไรได้บ้าง?

กัญชงเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นยาแผนโบราณ หรือยาแผนปัจจุบัน แต่โดยส่วนใหญ่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ตัวอย่างเช่น

  • ช่อดอก : นำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาแผนปัจจุบัน ยาแผนไทย และยาสมุนไพร
  • เมล็ด : เมล็ดมีโปรตีนสูง นำไปผลิตแป้งทำอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีน ขนมอบ และขนมขบเคี้ยว ส่วนน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำไปทำน้ำมันสำหรับบริโภค และเครื่องสำอางต่างๆ เช่น สบู่ ครีมกันแดด แชมพู โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก และแผ่นมาส์กหน้า
  • ใบ : ใบถูกใช้ในยาแผนไทย ยาสมุนไพร ชาสมุนไพร เวชสำอางสมุนไพร อาหาร เครื่องปรุงรส เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับขัดและทำความสะอาด
  • ลำต้น : ลำต้นใช้ในยาแผนไทย ยาสมุนไพร เวชสำอางสมุนไพร และเครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพู ครีมนวดผม ครีมขัดผิว ส่วนเส้นใยจากลำต้นจะนำไปทอผ้าสำหรับป้องกันรังสียูวี
  • สารสกัด CBD และ THC ไม่เกิน 0.2 : ใช้ในยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร เวชสำอางสมุนไพร และใช้ในอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการใส่สารสกัดเหล่านี้ลงในอาหารสำหรับทารก ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในช่องปาก และสำหรับจุดซ่อนเร้น
  • กิ่งก้าน : กิ่งก้านถูกใช้ในยาแผนไทย ยาสมุนไพร เวชสำอางสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับขัดและทำความสะอาด 
  • ราก : รากถูกใช้ในยาแผนไทย ยาสมุนไพร เวชสำอางสมุนไพร และเครื่องสำอาง เช่น สบู่ ผงขัดผิว
ประโยชน์ของกัญชง

ประโยชน์ของกัญชง

กัญชงมีประโยชน์ด้วยกันหลักๆ ดังนี้

  • ทำเส้นด้ายและเชือก เพื่อใช้สำหรับทอผ้า และเครื่องนุ่งห่มต่างๆ
  • ผลิตเป็นกระดาษ
  • ผลิต Alcohol, Ethanol, Methanol และถ่านไม้
  • ผลิตเครื่องตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์
  • นำเมล็ดมาใช้เป็นอาหารได้ เนื่องจากมีโอเมก้า 3, โอเมก้า 6, โอเมก้า 9, linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid และวิตามินอี ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายและป้องกันโรคได้
  • ผลิตเป็น สบู่ ครีมกันแดด แชมพู โลชั่นให้ความชุ่มชื้น ลิปสติก และน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ใช้ทำเนย ชีส เต้าหู้ นม ไอศกรีม อาหารเสริม และอาจนำมาใช้แทนถั่วเหลืองได้ในอนาคต
  • ทำเครื่องดื่มชาเพื่อสุขภาพ หรือผสมกับอาหารอื่นๆ
  • สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  • สามารถปลูกต้นกัญชงเพื่อช่วยกำจัดสารกัมมันตภาพรังสีได้
  • นำเส้นใยมาทำชุดกิโมโน เนื่องจากมีความคงทนสูง
สาร THC กับ CBD ต่างกันอย่างไร

สาร THC กับ CBD คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

สารออกฤทธิ์ในพืชกัญชาและกัญชงที่สำคัญ คือ สาร Tetrahydrocannabinol (THC) และสาร Cannabidiol (CBD) สารทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันในด้านประโยชน์และผลข้างเคียง โดยสาร THC จะออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและเกร็งของกล้ามเนื้อ มีประโยชน์ในการช่วยลดอาการคลื่นไส้ ภูมิแพ้ เส้นเลือดตีบ เจ็บปวดเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ บรรเทาความวิตกกังวล และเพิ่มความอยากอาหาร ในส่วนของผลข้างเคียงนั้น หากได้รับ THC ในปริมาณสูงเกินไปจะทำให้ปากแห้ง ตาแดง มึนเมา และเห็นภาพหลอน ส่วนสาร CBD ใช้บรรเทาอาการชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง พาร์กินสัน ซึมเศร้า ไมเกรน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ สำหรับสาร CBD นั้นไม่ค่อยมีผลข้างเคียง แต่อาจเกิดผลข้างเคียงได้จากการใช้ร่วมกันยา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียนได้

ความแตกต่างระหว่างกัญชากับกัญชง

ความแตกต่างระหว่างกัญชากับกัญชง

เนื่องจากต้นกำเนิดมาจาก Cannabis sativa L. เหมือนกัน แต่ต่างสายพันธุ์กัน เมื่อมองเผินๆ แล้วอาจจะดูคล้ายกัน จึงไม่แปลกที่จะสงสัยว่า กัญชา กัญชงต่างกันอย่างไร จริงๆ แล้วมีความแตกต่างกันตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพ ทั้งสีของใบ ลักษณะของใบ ความสูงของต้น และการแตกกิ่งก้าน และอีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันก็คือการออกฤทธิ์ เนื่องจากสาร THC ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในพืชกัญชาและกัญชงนั้นมีปริมาณไม่เท่ากัน โดยพบในกัญชามากกว่า ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย และง่วงนอน ส่วนในกัญชงจะพบสาร CBD มากกว่า ซึ่งจะช่วยระงับอาการปวด ลดการอักเสบ และชักเกร็ง

วิธีขออนุญาตปลูกกัญชาและกัญชง

วิธีขออนุญาตปลูกกัญชาและกัญชง

  • เตรียมเอกสารตามที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดไว้
  • ยื่นขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อนถึงจะเริ่มปลูกได้
  • หากปลูกในกรุงเทพมหานครให้ไปยื่นคำขอที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เลย
  • หากปลูกในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)
  • หากมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ให้ยื่นคำขอที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

หรือสามารถจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชงง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น ‘ปลูกกัญ’ ดังนี้

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ ปลูกกัญ หรือแอปพลิเคชั่น ปลูกกัญ (สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง iOS และ Android)
  2. ลงทะเบียน
  3. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์
  4. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์

แม้กัญชาและกัญชงจะเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่ในบางส่วน เช่น ลักษณะทางกายภาพ หรือการนำไปใช้ประโยชน์ โดยกัญชามักนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและใช้ในทางการแพทย์ แต่กัญชงมักนำมาใช้ในงานสิ่งทอ กระดาษ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง ในส่วนของการออกฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม และผ่อนคลายมากกว่ากัญชง คงจะทราบกันแล้วว่า กัญชา กัญชงต่างกันอย่างไร หากต้องการกัญชาหรือกัญชงที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อการใช้งาน สามารถติดต่อได้ที่ four twenty สถานที่จัดจำหน่ายกัญชาที่น่าเชื่อถือและถูกกฎหมาย

Designed by CARE Digital
Copyright 2024 © Fourtwenty - All rights reserved.
crossmenu