ปกบทความกัญชากับมะเร็ง

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกัญชา ช่วยรักษามะเร็งได้จริงหรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ!

May 15, 2023

กัญชาเป็นหนึ่งในพืชที่เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประกอบอาหาร ตลอดจนมีการพัฒนาเรื่อยมาอย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะในด้านการแพทย์ ทั้งนี้หลายคนอาจสงสัยว่ากัญชากับมะเร็งนั้นแท้จริงแล้วเกี่ยวข้องกันอย่างไร ช่วยรักษามะเร็งได้จริงหรือไม่ หากรักษาได้ ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษามะเร็งด้วยกัญชาแบบนี้ หรือใครบ้างที่ไม่เหมาะ แล้วมีวิธีไหนในการรักษาบ้าง ซึ่งคำถามเหล่านี้ก็จะถูกรวบรวมมาตอบกันให้เคลียร์ในบทความนี้

กัญชาคืออะไร

กัญชาคืออะไร

กัญชา (Marijuana) เป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp. indica โดยสารสำคัญของกัญชาคือ Delta-9-tetrahydrocannabinol และ cannabidiol หรือเรียกสั้นๆ ว่า THC กับ CBD ที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้ใช้แตกต่างกันไป

กัญชามีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบเรียบอ้วน มีสีเขียวจัด แฉกใบมี 5-7 แฉก กิ่งก้านแตกเป็นสาขาเยอะ ลำต้นมีรูปร่างเป็นปล้อง สูงประมาณ 1-3 เมตร มียางมาก ออกดอกเป็นช่อ และจะเริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ 3 เดือนขึ้นไป

ประโยชน์ของกัญชาด้านการแพทย์

ประโยชน์ของกัญชากับบทบาทด้านการแพทย์ที่น่าสนใจ

กัญชามีสรรพคุณและประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจของมนุษย์หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านความบันเทิง การเพิ่มคุณภาพชีวิต ที่สำคัญเลยก็คือประโยชน์ในด้านการแพทย์ ซึ่งในปัจจุบัน มีการวิจัยและพัฒนาให้อาการและโรคบางประเภทสามารถใช้กัญชาในกระบวนการรักษาได้ ดังต่อไปนี้

  • บรรเทาภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากส่งผลข้างเคียงต่อระบบประสาท โดยเฉพาะกับเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • บรรเทาอาการโรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
  • ฟื้นฟูและบรรเทาอาการปวดแบบเฉียบพลันไม่ว่าจะเป็นภาวะปวดประสาทส่วนกฃลาง ตลอดจนอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อม
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต

นอกจากนั้นกัญชายังมีแนวโน้มว่าจะช่วยในโรคอื่นๆ ได้อีกหลายโรค แต่ยังต้องรอหลักฐานการสนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่

  • โรคพาร์กินสัน ที่มีอาการในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ มีการสั่นตามอวัยวะต่างๆ เคลื่อนไหวช้า และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ไม่ยืดหยุ่น โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการเสื่อมของสมองที่พบได้บ่อยมากประเภทหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อสมองส่วนที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา ทำให้มีอาการหลงลืม สนทนาโต้ตอบไม่ได้หรืออาจถึงขั้นไม่รับรู้สิ่งแวดล้อมเลยก็ได้
  • โรคปลอกประสาทอักเสบ จะเกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทที่หุ้มเส้นประสาทของสมอง เส้นประสาทตา และไขสันหลัง ซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบก็จะทำให้อวัยวะทำงานผิดปกติ เช่น ตามัว มองไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
การใช้กัญชาทางการแพทย์

วิธีการใช้กัญชาทางการแพทย์

โดยทั่วไปแล้วในทางการแพทย์จะมีวิธีการใช้กัญชาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและอาการที่ต้องการจะใช้รักษา 

  1. การสูบแบบบุหรี่หรือการสูบแบบระเหย วิธีนี้เป็นวิธีการใช้ที่พบมากที่สุดในการใช้กัญชาทางการแพทย์ โดยจะใช้การควบคุมสาร THC เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และอาการชัก
  2. การบริโภคแบบอาหาร วิธีนี้จะใช้กัญชาในรูปแบบเม็ดหรือเจล แล้วนำไปผสมกับอาหารหรือเครื่องดื่ม อย่างคุกกี้หรือลูกกวาด เพื่อให้ประโยชน์ในการรักษาและการดูแลสุขภาพ 
  3. การใช้น้ำมันสกัดจากกัญชา วิธีนี้มักใช้ในการรักษาอาการที่เกี่ยวกับผิวหนัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปัญหาปวดศีรษะเรื้อรัง และไมเกรนจากการรักษามะเร็งได้
  4. การใช้กัญชาในรูปแบบเจลหรือเข็ม วิธีนี้จะใช้สารสกัดจากกัญชาที่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้เร็ว โดยจะใช้ในการบรรเทาอาการปวดและอาการที่เกี่ยวกับปัญหาของข้อต่อ
กัญชารักษามะเร็ง

กัญชารักษามะเร็งได้จริงหรือไม่ อย่างไร

จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขชี้ว่า มีงานวิจัยบางชิ้นที่ให้การยอมรับว่ากัญชาสามารถใช้ควบคู่กับการรักษามะเร็งได้ แต่เป็นไปตามกระบวนการทางการแพทย์ภายใต้คำแนะนำหรือการตัดสินใจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพียงเท่านั้น และยังคงมีการวิจัยและค้นคว้าหาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ไม่นานมานี้มีการรายงานวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ว่าการใช้กัญชาอาจมีประโยชน์ในการรักษามะเร็ง โดยสารตัวหนึ่งที่ค้นพบในกัญชาที่ชื่อว่า CBD อาจช่วยลดการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้

ลดอาการคลื่นไส้ และอาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด

สาร Nabilone และ Dronabinol เป็นสารสังเคราะห์ที่เป็นอนุพันธ์ของสาร THC ที่มาจากกัญชาจะมีความสามารถบรรเทาอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งด้วยวิธีต่างๆ ได้ เช่น การเข้ารับเคมีบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเกิดขึ้นได้ โดยกัญชาจะช่วยลดอาการคลื่นไส้และทำให้อาเจียนน้อยลงได้

เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์

ความอยากอาหารต่ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรคมะเร็งหรือเอดส์ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยพบว่าสารสกัดจากกัญชาอาจช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ได้ ด้วยผลของสาร THC ที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางในร่างกาย ทำให้ผู้บริโภคมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นได้

ลดอาการปวดรุนแรงจากโรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงที่ต้องเผชิญอยู่เป็นประจำ อาการปวดนี้สามารถกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากการใช้ยาแก้ปวดสามารถสร้างผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อการรักษาได้ ในขณะที่กัญชามีสาร THC ที่ช่วยลดอาการปวดแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังได้ ทำให้การใช้กัญชาจึงเริ่มเป็นที่สนใจในฐานะของยาแก้ปวดทดแทนที่มีผลกระทบต่อการรักษาน้อยกว่ายาแก้ปวดเดิม

กัญชากับมะเร็ง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาเพื่อการรักษามะเร็ง

การใช้กัญชาเพื่อรักษามะเร็งยังต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยที่เพียงพอเพื่อพิสูจน์ว่าการใช้กัญชาเพื่อรักษามะเร็งมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง รวมไปถึงความเสี่ยงในการเสพติดและเวลาที่อาจจะเสียไปกับการรักษาที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าวิธีอื่น จึงมีบางสิ่งที่เกี่ยวกับการใช้กัญชาเพื่อการรักษามะเร็งที่ควรรู้เอาไว้ก่อนทำการรักษา

ใครที่เหมาะกับการรักษามะเร็งด้วยกัญชาบ้าง

การใช้กัญชาควบคู่กับรักษามะเร็งเหมาะสมกับกลุ่มผู้ที่มีอาการเจ็บปวดจากมะเร็ง และการรักษาแบบดั้งเดิมไม่สามารถบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่กัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากการทำการรักษามะเร็งได้

อย่างไรก็ตามการใช้กัญชาควบคู่กับการรักษามะเร็งก็ควรได้รับการดูแล และคำแนะนำของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยที่ผู้ป่วยควรเริ่มใช้กัญชาในปริมาณที่น้อยที่สุด หากไม่มีผลก็ควรปรับเพิ่มเป็นระยะอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีผู้ดูแลอยู่เมื่อเริ่มใช้ หากเกิดผลข้างเคียง ควรรีบพบแพทย์ทันที

สำหรับผู้ที่มีประวัติการใช้ยาประเภทอื่นๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้กัญชา เนื่องจากกัญชาอาจส่งผลต่อยาบางชนิดที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้หากใช้ร่วมกัน

ใครบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชา

ถึงแม้ว่าโดยรวมการรักษาด้วยกัญชาจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบหรือผลข้างเคียงได้ ซึ่งแพทย์อาจจะไม่แนะนำให้ใช้กัญชาหรืออาจอนุญาตในกรณีที่จำเป็นจริงๆ โดยคนเหล่านี้ได้แก่

  • ผู้มีประวัติแพ้สารสกัดจากกัญชา ควรจะหลีกเลี่ยงและแจ้งให้แพทย์ได้ทราบเอาไว้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อชีวิตได้
  • เด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 20 ปี ไม่แนะนำให้ใช้การรักษาด้วยกัญชา เนื่องจากความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองในช่วงวัยที่การเติบโตของสมองมีผลสูงต่อการใช้ชีวิต
  • ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป โดยนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลข้างเคียงได้ง่ายและรุนแรง
  • หญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตรหรือหญิงที่วางแผนในการมีบุตร ควรจะหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยกัญชาเพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อเด็กได้
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มีความผิดปกติของตับและไตที่รุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชากับการรักษามะเร็งเพราะผลกระทบที่อาจจะเกิดกับระบบเหล่านี้
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเภท โรคจิตจากสารเสพติด โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง อาจจะเกิดอาการที่คาดเดาได้ยากระหว่างการใช้กัญชาเพื่อการรักษาได้ จึงควรหลีกเลี่ยงหรือควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่มีปัญหาติดสารเสพติดรวมไปถึงนิโคตินหรือติดสุราอย่างหนัก จะมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาการเสพติดกัญชาสูง จึงควรเลี่ยง

การใช้กัญชากับการรักษามะเร็งนั้นยังคงเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องการงานวิจัยสนับสนุนยืนยันเพิ่มว่ากัญชารักษามะเร็งได้จริงหรือไม่ ซึ่งการใช้ประโยชน์จากกัญชาไปกับการแพทย์นั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มตัวเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้ป่วยเดิมแล้ว ยังเปิดโอกาสให้กัญชาถูกยอมรับได้ง่ายมากขึ้นในสังคมอีกด้วย 

ซึ่งนอกจากกัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์แล้ว ในปัจจุบันกัญชายังถูกนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริโภคเชิงสันทนาการอีกด้วย ไม่ว่าจะผ่านอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้แต่ขนม อย่างในร้าน four twenty ที่มีสินค้าที่นำกัญชาคุณภาพดีมาเป็นวัตถุดิบเสริม ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์และสัมผัสใหม่ๆ ให้กับอาหารเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย

Designed by CARE Digital
Copyright 2024 © Fourtwenty - All rights reserved.
crossmenu