ปกบทความสูบกัญชา กับ กินกัญชา

เคลียร์ให้ชัด! สูบกัญชากับกินกัญชาต่างกันอย่างไร? แบบไหนเมากว่า?

May 15, 2023

พืชสีเขียวอย่างกัญชาที่ตอนนี้ถูกนำออกจากบัญชียาเสพติดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถบริโภคกัญชาได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย ส่งผลให้ในปัจจุบันมีสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบออกมาวางขายอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ช่อ ดอกของกัญชา รวมไปถึงอาหารทั้งคาวแล้วหวานที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม จึงทำให้เราสามารถบริโภคกัญชาได้ผ่านทั้งการสูบ และการกินหรือดื่ม แต่หารู้ไม่ว่ากรรมวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันย่อมให้ผลที่ตามมาแตกต่างกัน บทความนี้จะพาไปหาคำตอบเคลียร์ให้ชัดว่าสูบกัญชา กับ กินกัญชาต่างกันอย่างไร แบบไหนส่งผลต่อร่างกายมากกว่ากัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลย

วิธีการบริโภคกัญชามีแบบไหนบ้าง

กลุ่มพืชที่มีชื่อเรียกว่า Cannabis sativa, Cannabis indica และ Cannabis ruderalis หรือรู้จักกันในชื่อของ “กัญชา” สามารถนำมาบริโภคได้ ไม่ว่าจะนำมารมควัน ชงเป็นชา หรือกินกัญชาในรูปแบบต่างๆ โดยหลักๆ แล้วการบริโภคกัญชาจะแยกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ การกินหรือดื่มและการสูบควันหรือไอน้ำ โดยแต่ละแบบนั้นมีขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้แตกต่างกันไปตามกรรมวิธีที่ใช้ 

กินกัญชา

การกินหรือดื่ม (Ingesting)

การบริโภคกัญชาโดยวิธีการกินหรือดื่ม (Ingesting) คือการบริโภคกัญชาเข้าไปในร่างกายด้วยวิธีการกินเข้าไปในร่างกายโดยตรง อย่างการเลือกกินใบกัญชาสด โดยนำมาเคี้ยวกินแบบสดๆ ได้เลย หรือนำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด อย่างไข่เจียว ผัดกะเพรา ยำ แกง ก๋วยเตี๋ยว หรือขนมหวาน  โดยเลือกใบสดมาทำเมนูอาหารได้ตามความเหมาะสมโดยต้องระวังไม่ให้ได้รับสาร THC มากเกินไป และวิธีสุดท้ายของการบริโภคกัญชาโดยวิธีการกินหรือดื่ม คือการนำใบกัญชามาปั่นแล้วคั้นสดเพื่อให้ได้น้ำกัญชาพร้อมดื่มได้เลย โดยการกินกัญชาด้วยวิธีนี้เป็นเรื่องง่ายไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์หรือซื้ออะไรเพิ่มเติม สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีในห้องครัวได้เลย โดยถือว่ากัญชาเสมือนกับผักชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ประกอบอาหาร

สูบกัญชา

การสูบควันหรือไอน้ำ (Inhaling)

การบริโภคกัญชาโดยวิธีการสูบควันหรือไอน้ำ (Inhaling) คือการบริโภคกัญชาผ่านการสูดดมเข้าไปในร่างกาย ไม่ได้รับกัญชาเข้ามาในร่างกายโดยตรง แต่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ มาแล้ว ซึ่งกัญชาจะถูกแปรรูปให้เป็นลักษณะของการบดเป็นผง น้ำมันสกัด เป็นต้น โดยหลักแล้วการสูบควันหรือไอน้ำนั้นมีหลายวิธีให้ได้เลือก อย่างการสูบควันกัญชา วิธีนี้คล้ายกับการสูบบุหรี่เป็นวิธีที่มีนานแต่ดั้งเดิม โดยการนำใบกัญชามาบดให้เป็นผง ใช้กระดาษมาม้วนจัดทรงให้มีรูปร่างคล้ายบุหรี่จากนั้นจุดไฟสูบได้ตามปกติ หากไม่อยากเสียเวลามานั่งม้วนกระดาษ สามารถซื้อบ้องแก้วกัญชาที่ได้รับความนิยมติดอันดับ 1 ในโซนยุโรป ซึ่งมีหลายรูปแบบมาก ดีไซน์สวย ใช้งานง่าย หลากหลายสีสัน หาซื้อสะดวก ราคาถูก ซื้อครั้งเดียวใช้ได้นานมาก ลักษณะเป็นบ้องคล้ายแจกันโดย วิธีการทำง่ายๆ โดยเทน้ำลงในช่องเก็บน้ำแล้วเอากัญชาที่ผ่านการบดมาใส่ในช่องเติมกัญชา จากนั้นจุดไฟก็จะได้ควันที่ได้ไม่แสบปอด ได้ความนุ่มละมุนให้ได้สูดดมเข้าสู่ปอดแล้ว หรือจะใช้วิธีที่ง่ายแสนง่ายกว่านั้นหากมีบุหรี่ไฟฟ้าอยู่แล้ว สามารถเลือกวิธีสูบกัญชาได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ดอกกัญชาอบแห้ง ผงกัญชาแห้งหรือน้ำมันกัญชาใส่เข้าไปตรงช่องน้ำยาแล้วเปิดใช้งานปกติ

สูบกัญชา กับ กินกัญชา

กินกัญชา vs สูบกัญชา ต่างกันอย่างไร?

อย่างที่รู้กันว่า วิธีการบริโภคกัญชานั้นมีอยู่ 2 รูปแบบคือ การสูบกัญชากับการกินกัญชาซึ่งข้อแตกต่างของทั้ง 2 อย่างนี้จะเป็นกรรมวิธีการนำเข้าร่างกายที่แตกต่างกัน อุปกรณ์ที่ใช้ รวมไปถึงรูปแบบของกัญชาด้วย ซึ่งนอกจากความต่างข้างต้นที่กล่าวมากระบวนการดูดซึมเข้าร่างกายย่อมแตกต่างกันไปด้วย

การดูดซึมของร่างกาย (Absorption)

การกินกัญชากับการสูบกัญชาให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป เพราะในขณะที่กัญชาถูกบริโภคเข้าไปในร่างกายแล้วนั้น ร่างกายมีการดูดซึมแต่จะมีการดูดซึมที่แตกต่างกัน อย่างการบริโภคกัญชาผ่านการกินหรือดื่ม (Ingesting) กัญชาจะถูกน้ำย่อยในร่างกายแปรรูปแล้วดูดซึม หากเป็นการบริโภคกัญชาโดยวิธีการสูบควันหรือไอน้ำ (Inhaling) ร่างกายจะรับสารกัญชาเข้าไปในปอดโดยตรง โดยผลของการดูดซึมที่แตกต่างกันทำให้การออกฤทธิ์ของกัญชาแตกต่างกันไปอีก ไม่ว่าจะในระยะเวลาที่กว่าจะออกฤทธิ์ ระยะเวลาที่กัญชาจะออกฤทธิ์ เป็นต้น

กินกัญชา

เมื่อกินกัญชาเข้าไป กัญชาจะเดินทางไปยังกระเพาะอาหารแล้วถูกน้ำย่อยแปรรูป จากนั้นจึงเดินทางไปที่ตับ โดยตับจะทำให้สาร THC มีความเข้มข้นขึ้น ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น ก่อนจะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แม้ว่าการกินกัญชาเข้าไปจะทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อยลงแต่ฤทธิ์ของกัญชาจะอยู่ได้นานกว่ามาก

สูบกัญชา

การสูบกัญชาด้วยควันหรือไอน้ำ ในส่วนนี้ปอดจะได้รับสาร THC ที่มาจากกัญชาได้โดยตรง และทำให้สารนี้ส่งไปยังกระแสเลือดและสมองทันทีผ่านถุงลมในปอด สารเคมีนี้เองที่ทำให้ผู้สูบรู้สึกถึงผลของสาร THC จากกัญชาได้ในไม่กี่นาทีหลังจากสูดดมควันหรือไอน้ำเข้าสู่ร่างกาย 

ระยะเวลาของการออกฤทธิ์ (Duration)

การบริโภคกัญชาในรูปแบบต่างๆ ทั้งการสูบกัญชากับการกินกัญชา นอกจากกระบวนการดูดซึมที่ต่างกัน อุปกรณ์ กรรมวิธี ที่ใช้ในการบริโภคแตกต่างกันแล้ว ระยะเวลาของการออกฤทธิ์ (Duration) เมื่อบริโภคกัญชาเข้าไปแล้วก็แตกต่างกันเช่นกัน

กินกัญชา

  • เมื่อเข้าสู่กระเพาะอาหารแล้วถูกแปรรูป หลังจากดูดซึมแล้วจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที – 2 ชั่วโมง
  • ออกฤทธิ์เต็มที่ภายใน 4 ชั่วโมง
  • สามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 12 ชั่วโมง
  • อาจมีสารตกค้างภายในร่างกายได้นานถึง 24 ชั่วโมง

สูบกัญชา

  • เมื่อสูดดมเข้าไปในร่างกายผ่านปอดแล้ว จะออกฤทธิ์เต็มที่ภายใน 30 นาที
  • สามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 6 ชั่วโมง
  • อาจมีสารตกค้างภายในร่างกายได้นานถึง 24 ชั่วโมง 

การออกฤทธิ์ (Action)

หลังจากที่กัญชาเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูบกัญชากับการกินกัญชาแล้ว เมื่อผ่านกระบวนการดูดซึมจะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อร่างกายของผู้บริโภคด้วย โดยการบริโภคกัญชาที่ต่างกันทำให้ผลที่ออกฤทธิ์ต่างกัน

กินกัญชา

  • ปากแห้ง ลำคอแห้ง ตาแดง ต้องการดื่มน้ำมากๆ
  • อยากกินของหวานๆ 
  • ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • เวียนหัว อยากอาเจียน
  • ง่วงนอนมากเกินปกติ
  • รู้สึกผ่อนคลาย

สูบกัญชา

  • อารมณ์ดี ร่าเริง แจ่มใส
  • ช่างพูด ตื่นเต้น หัวเราะตลอดเวลา
  • ตาแดง ตาเยิ้มคล้ายคนง่วง
  • ปากแห้ง ลำคอแห้ง
  • เซื่องซึม ง่วงนอน
  • เห็นภาพหลอนอยู่ในอีกมิติ หลุดจากโลกความจริง
  • ควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ 

ปริมาณที่ควรบริโภค (Dose)

เพื่อให้การบริโภคกัญชานั้นส่งผลดีต่อร่างกายจึงต้องรู้ถึงปริมาณที่ควรบริโภค (Dose) ให้มีความเหมาะสม ไม่อย่างนั้นก่อนที่จะได้รับผลดี คงจะได้ผลเสียที่ร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายผู้บริโภคกัญชาซะก่อน

กินกัญชา

  • แนะนำให้บริโภคกัญชาในปริมาณ 10 มก. หรือน้อยกว่า เพราะการกินกัญชาเข้าไปโดยตรงจะทำให้ได้รับสาร THC จากกัญชาโดยตรง แม้จะใช้ระยะเวลานานในการดูดซึมแต่การออกฤทธิ์ในร่างกายยาวนานกว่าการสูบกัญชามาก
  • หากกินใบกัญชาสดไม่ควรเกิน 5-8 ใบต่อวัน

สูบกัญชา

  • สูบได้ปริมาณสาร THC ไม่เกิน 10 มก.
  • ปริมาณ THC ห้ามเกิน 0.2%

ประโยชน์ (Benefit)

กัญชา พืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ถูกใช้ในการรักษาโรคมาอย่างยาวนาน แม้ว่าแต่ก่อนจะจัดอยู่ในประเภทของยาเสพติดให้โทษ แต่ตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศว่ากัญชาทุกส่วน ไม่ถือเป็นยาเสพติดอีกต่อไป หากสาร THC หรือ CBD ไม่เกิน 0.2% เพราะฉะนั้นการใช้กัญชาให้ถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสมย่อมส่งผลดี ให้สรรพคุณทางบวกต่อผู้บริโภค โดยประโยชน์ของมันมีมากกว่าที่คิด แต่หากใช้ผิดวิธีก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

กินกัญชา

  • รสชาติอาหารอร่อยขึ้น
  • เพิ่มความอยากอาหาร
  • รู้สึกผ่อนคลาย
  • ลดอาการวิตกกังวลลง
  • บรรเทาอาการไอ
  • ลดความอ่อนล้า ให้มีแรงเพิ่มขึ้น
  • บรรเทาอาการหอบหืด
  • บรรเทาอาการปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน
  • ต่อต้านอาการซึมเศร้า
  • ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

สูบกัญชา

  • อารมณ์ดี
  • หัวเราะง่าย
  • ออกฤทธิ์ได้ไวขึ้น
  • สามารถกินใบกัญชาเพิ่มได้หลังจากสูบควันไปแล้วเพื่อให้ได้ผลเร็วขึ้น
  • ผ่อนคลาย
  • ลดความตึงเครียด
  • นอนหลับง่าย
  • ลดอาการคลื่นไส้

ความเสี่ยง (Risk)

แม้ว่าการบริโภคกัญชา ไม่ว่าจะทั้งการสูบกัญชากับการกินกัญชาจะได้ประโยชน์และส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ด้วยสาร THC และ CBD ที่มีอยู่ในกัญชา ทำให้ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้เช่นกัน

กินกัญชา

  • อาจได้รับปริมาณมากเกินไปเพราะกินง่าย
  • ผลกระทบที่ทำให้มึนเมายาวนานเพราะการกินกัญชาจะให้ผลที่ยาวนานกว่าสูบควันเข้าไป
  • หากที่บ้านมีเด็กเล็ก อาจเกิดความเสี่ยงที่เด็กๆ จะกินกัญชาเข้าไปเพราะมันดูเหมือนอาหารหรือขนมทั่วไป
  • อาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่ใช้อยู่

สูบกัญชา

  • เกิดการระคายเคืองต่อปอด แสบบริเวณปอดและทางเดินหายใจ
  • ไอเรื้อรัง มีเสมหะได้
  • อาจเกิดอาการเมากัญชาอย่างรุนแรง เพราะการสูบกัญชาจะออกฤทธิ์ได้ไวกว่าการกิน
บริโภคกัญชา

ข้อควรรู้ในการบริโภคกัญชาให้ปลอดภัย

การบริโภคกัญชาในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะในกัญชามีสาร THC ที่ส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง หากใช้ในปริมาณที่พอดีและเหมาะสมจะช่วยในเรื่องของความผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด ลดอาการนอนหลับยากได้ และยังมีสาร CBD ที่มักใช้ในการแพทย์ เพราะสารนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดลง ลดการอักเสบของแผล อีกทั้งมีความสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย แม้ประโยชน์จะมีมาก หากบริโภคกัญชามากเกินไปจะส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด พบกับข้อควรระวังในการใช้กัญชาให้เหมาะสม

  • ไม่ควรกินใบกัญชาแก่เนื่องจากค่า THC สูงกว่าใบอ่อน
  • ไม่ควรกินกัญชาที่ผ่านกระบวนการทำอาหารด้วยความร้อนสูง เพราะค่า THC จะสูงมากขึ้น
  • ไม่ควรกินกัญชาพร้อมกับอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะทำให้การดูดซึมดีมากขึ้น ออกฤทธิ์ได้รุนแรงขึ้น
  • ไม่กินกัญชาปริมาณมากๆ ในครั้งเดียว เพราะเมื่อกัญชาออกฤทธิ์อาจได้รับสาร THC มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการผสมกัญชากับแอลกอฮอล์หรืออื่นๆ เพราะจะนำไปสู่ความร้ายแรงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  • เริ่มต้นบริโภคกัญชาโดยการกินที่มีสาร THC ไม่เกิน 2.5 มก.
  • เริ่มต้นบริโภคกัญชาโดยการสูบด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีสาร THC ไม่เกิน 10%

บริโภคกัญชามากเกินไปควรทำอย่างไร

ด้วยความที่กัญชานั้นสามารถบริโภคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะทั้งการสูบกัญชาหรือแม้แต่กับการกินกัญชา ทำให้บางครั้งอาจบริโภคกัญชามากเกินไปได้ แต่ไม่ต้องตกใจไปบทความนี้ได้รวบรวมวิธีการจัดการตัวเองหากเผลอบริโภคมันมากเกินไป

  • ทำใจให้สบาย ฟังเพลงเพลินๆ ผ่อนคลาย อาการเมาจะหายไปเองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  • ดื่มน้ำให้มากๆ หารู้สึกลำคอแห้งผาก
  • หาของหวานอย่างขนมหรือเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มน้ำตาลในเลือด จะช่วยแก้การเวียนหัวได้
  • หากเมากัญชามากๆ สามารถเคี้ยวเม็ดพริกไทยจะสามารถสร่างเมาได้ทันที
  • ออกไปเดินรับอากาศบริสุทธิ์ คิดอะไรเพลินๆ
  • พักการสูบหรือการกินกัญชาสักระยะ เมื่อดีขึ้นสามารถกลับมาบริโภคได้ใหม่

หากใช้กัญชาในปริมาณที่เหมาะสมจะให้สรรพคุณทางบวก ไม่ว่าจะเป็นการสูบกัญชาหรือแม้แต่กับการกินกัญชา โดยผลที่ได้ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละวิธี เพราะวิธีที่เลือกบริโภคกัญชาจะส่งผลต่อวิธีการทำงานของร่างกายโดยตรง อย่างการสูบกัญชาผ่านควัน ไอน้ำ ร่างกายจะดูดซึมสารกัญชาผ่านเนื้อเยื่อปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง หากกินกัญชา ร่างกายจะมีการย่อยดูดซึมไปใช้งานในส่วนต่างๆ ที่ four twenty เรามีกัญชาเพื่อการบริโภคที่หลากหลาย โดยคัดเลือกแต่ส่วนที่มีคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับกัญชาคุณภาพระดับพรีเมียมอย่างแน่นอน

Designed by CARE Digital
Copyright 2024 © Fourtwenty - All rights reserved.
crossmenu