ปกบทความกัญชารักษาโรคสมาธิสั้น

กัญชากับโรคสมาธิสั้น ทางเลือกในการรักษาที่ไม่ควรมองข้าม

May 15, 2023

โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดตั้งแต่เด็กและสืบเนื่องมาจนโต การรักษาโรคสมาธิสั้นมีทั้งแบบใช้ยาและการปรับพฤติกรรม ขึ้นอยู่กันพฤติกรรมของแต่ละคนว่ามากน้อยเพียงใด ในปัจจุบันกัญชาถือเป็นสมุนไพรที่ทางการแพทย์ได้มีการศึกษาและนำมาใช้ในการรักษาโรคเพิ่มขึ้นในรูปแบบของสารสกัดและยังมีการศึกษาถึงเรื่องกัญชากับโรคสมาธิสั้น พบว่าในกัญชามีสารตัวหนึ่งที่ออกฤทธิ์คล้ายกับยารักษาโรคสมาธิสั้น จึงทำให้กัญชากลายเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพโดยเฉพาะปัญหาเรื่องสมาธิสั้นนั่นเอง ซึ่งกัญชาจะรักษาโรคสมาธิสั้นได้อย่างไร มาอ่านไปพร้อมกันเลย four twenty สรุปมาให้แล้ว!

ทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นหรือเรียกว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติบริเวณสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนของการควบคุมสมาธิ  เมื่อสมองส่วนนี้ทำงานน้อยลง ระดับโดพามีนก็จะลดลง จึงส่งผลให้ไม่สามารถอยู่เฉยๆ นั่งนิ่งๆ เป็นเวลานานๆ ได้ ไม่มีสมาธิ โรคนี้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องมักเกิดในเด็กและสืบเนื่องมาจนถึงตอนโตเป็นผู้ใหญ่ได้

อาการของโรคสมาธิสั้นไม่ได้ร้ายแรงมากก็จริง แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างขั้นร้ายแรงได้เลยทีเดียว

อาการของโรคสมาธิสั้น

สำหรับอาการของโรคสมาธิสั้นในเด็กและผู้ใหญ่นั้นจะสังเกตได้ไม่เหมือนกัน ในวัยเด็กจะมีความซน อยากรู้อยากเห็นมากกว่า จึงทำให้อยู่ไม่นิ่งมากกว่า ส่วนในวัยผู้ใหญ่อาจสังเกตได้จากการทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่อเป็นเวลานานไม่ได้ รู้สึกเสียสมาธิง่าย รวมถึงหงุดหงิดง่าย สรุปได้ดังนี้

  • ไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมได้นานๆ มักมีอาการเหม่อลอย จิตใจวอกแวก อยากไปทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากกิจกรรมที่อยู่ตรงหน้ามากกว่า
  • มีลักษณะเป็นคนคุยเก่ง ชอบพูดคุย คุยเยอะ
  • ชอบอะไรใหม่ๆ แปลกๆ ท้าทายตลอดเวลา ไม่ชอบอะไรที่จำเจ
  • รู้สึกเบื่อง่าย รู้สึกกระวนกระวายเมื่อต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ 
  • มีนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง
  • ไม่เป็นระเบียบ มีปัญหากับการจัดระเบียบข้าวของเครื่องใช้รอบตัว
  • มักมีนิสัยขี้ลืม ลืมบ่อยๆ 
  • มีนิสัยพูดไม่คิด มักพูดจาแทรกขณะคนอื่นกำลังพูดหรือพูดทำร้ายจิตใจคนอื่น
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย
  • มีความรู้สึกวิตกกังวลเกือบตลอดเวลา
  • มีปัญหานอนไม่หลับ

สาเหตุโรคสมาธิสั้น

ใครที่มีปัญหาและสงสัยว่าตนเองเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น ก่อนที่จะไปดูวิธีการรักษาโรคสมาธิสั้น มาเข้าใจกันก่อนว่า เพราะเหตุใดหลายคนจึงเป็นโรคสมาธิสั้น  โดยสาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้นสามารถแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ปัจจัยภายใน พันธุกรรม ครอบครัวเชื้อสายวงศ์ตระกูลมีประวัติเคยมีสมาชิกเป็นโรคสมาธิสั้นมาก่อน
  • ปัจจัยภายนอก สภาพแวดล้อมรอบตัวที่ได้รับตั้งแต่เด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ ได้รับสารเสพติดบางชนิด มีปัญหาเกี่ยวกับการคลอด รวมถึงได้รับสารเคมีบางชนิด เช่น ตะกั่ว ส่งผลให้มีอาการสมาธิสั้นนั่นเอง

การรักษาโรคสมาธิสั้น

การรักษาโรคสมาธิสั้นสามารถรักษาได้ 2 วิธีหลักๆ ได้แก่การปรับพฤติกรรมและการทานยา 

  • การใช้ยา จะใช้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท กลุ่มยาไม่กระตุ้นประสาท กลุ่มยาต้านซึมเศร้า ยาคลายเครียด
  • การปรับพฤติกรรม เป็นการรักษาโดนใช้นักจิตวิทยา นักจิตเวชเข้ามาร่วมปรับพฤติกรรม ฝึกอารมณ์ ให้สามารถควบคุมอาการของโรคสมาธิสั้นได้ และในปัจจุบันมีการศึกษาเรื่อง กัญชากับโรคสมาธิสั้น พบว่าสามารถใช้กัญชารักษาโรคสมาธิสั้นได้ เพราะมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายกับสารที่อยู่ในยารักษาโรคสมาธิสั้น
กัญชากับโรคสมาธิสั้น

สารในกัญชาที่ต้องรู้!

ก่อนจะเลือกใช้กัญชารักษาโรคสมาธิสั้น ต้องเข้าใจก่อนว่ากัญชามีสารอะไรบ้างที่ช่วยให้อาการของโรคสมาธิสั้นดีขึ้นได้ ในหัวข้อนี้ four twenty จะพามาดูว่าสารสำคัญในกัญชากับโรคสมาธิสั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร สารแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไรบ้าง

CBD

สาร CBD (Cannabidiol) เรียกว่า สารแคนนาบินอยด์ เป็นสารที่พบในพืชตระกูลกัญชาที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ สาร CBD ได้รับการรับรองจากกรมการอนามัยโลกแล้วว่า ไม่ใช่สารเสพติด ไม่ส่งผลต่อระบบประสาท จึงไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา ในปัจจุบันจึงได้มีการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยในทางการแพทย์ สามารถสรุปได้ว่าสาร CBD มีประโยชน์ดังนี้

  • เป็นสารต้านการออกฤทธิ์ของ THC ไม่ให้เกิดอาการมึนเมา
  • ช่วยให้นอนหลับง่าย
  • ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
  • ช่วยลดความกังวล ลดความเครียด
  • ช่วยคุมอาการชักเกร็ง
  • ช่วยลดอาการปวด

THC

สาร THC (Tetrahydrocannabinol) เป็นสารที่กรมการอนามัยโลกจัดให้เป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 คือออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท หากใช้สาร THC ในปริมาณสูงจะทำให้เกิดอาการมึนเมา มีอาการเคลิบเคลิ้ม แต่หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น อยากอาหารมากขึ้น ลดอาการปวดต่างๆ ได้ สรุปได้ว่าสาร THC มีประโยชน์ในทางการแพทย์ดังนี้

  • ช่วยลดอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
  • ช่วยลดอาการปวดต่างๆ ได้
  • ช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้

จะเห็นได้ว่าในกัญชามีสารสกัดสำคัญ 2 ตัวได้แก่ CBD และ THC อยู่ด้วยกัน ถึงแม้สารทั้งสองตัวนี้จะดูมีประโยชน์คล้ายๆ กัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของการออกฤทธิ์รักษาโรค สำหรับกัญชากับโรคสมาธิสั้น สารตัวสำคัญที่ทำหน้านี้รักษาโรคสมาธิสั้นก็คือกลไกการออกฤทธิ์ของ CBD นั่นเอง

กัญชารักษาโรคสมาธิสั้น

กัญชารักษาโรคสมาธิสั้นได้อย่างไร

เมื่ออ่านมาถึงหัวข้อนี้หลายๆ คนคงจะเข้าใจแล้วว่ากัญชากับโรคสมาธิสั้นมีตัวสารสำคัญที่ช่วยรักษาโรคนี้ก็คือ CBD กลไกการทำงานคือ CBD จะเข้าไปกระตุ้นเพิ่มระดับสารโดพามีนบริเวณสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นกลไกลคล้ายกับยารักษาโรคสมาธิสั้น 

มีการศึกษาในปี 2016 จาก 268 หัวข้อสนทนาออนไลน์บอกไว้ว่า ผู้คนกว่า 25% เชื่อว่ากัญชารักษาโรคสมาธิสั้นได้ และยังมีการศึกษาในปี 2020 ที่ได้ทำการทดสอบสาร CBD กับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นจำนวน 112 คนพบว่าสามารถลดการใช้ยารักษาโรคสมาธิสั้นได้ รวมถึงยังมีการศึกษาในปี 2021 โดยทดสอบกับนักเรียนจำนวน 1,700 คนหลังมีการใช้กัญชารักษาพบว่าอาการสมาธิสั้นดีขึ้น และสามารถลดการใช้ยารักษาโรคสมาธิสั้นได้

cannabis and ADHD

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อใช้กัญชากับโรคสมาธิสั้น

แน่นอนว่าจากหลายๆ การศึกษาเกี่ยวกับกัญชากับโรคสมาธิสั้นจะเห็นได้ว่า กัญชารักษาโรคสมาธิสั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามควรใช้อย่างถูกต้องและปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากใช้เกินปริมาณหรือใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจเกิดผลข้างเคียงต่อไปนี้

  • อาจเกิดพัฒนาการช้าในเด็กและวัยรุ่น
  • เสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้า
  • เกิดความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น
  • อารมณ์ผิดปกติ

จะเห็นว่ากัญชาเป็นสมุนไพรที่ถูกนำไปใช้ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเครียด โรคนอนไม่หลับ ยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง โรคลมชัก โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน รวมถึงรักษาโรคสมาธิสั้น โดยสาร CBD ในกัญชาจะเข้าไปช่วยเพิ่มระดับโดพามีนในสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีสมาธิ มีจิตใจแน่วแน่อยู่กับกิจกรรมตรงหน้ามากขึ้น ลดการใช้ยารักษาโรคสมาธิสั้นได้ อย่างไรก็ตามการใช้กัญชากับโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาแพทย์และใช้งานอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจตามมาได้

Designed by CARE Digital
Copyright 2025 © Fourtwenty - All rights reserved.
crossmenu